การขออนุญาต |
คุณสมบัติผู้ขออนุญาต ต้องเป็นหน่วยงานดังนี้ ๑. กรุงเทพมหานคร ๒. องค์การบริหารส่วนจังหวัด ๓. เทศบาล ๔. เมืองพัทยา ๕. สภาตำบล ๖. องค์การบริหารส่วนตำบล ๗. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย |
การขออนุญาตใช้ความถี่วิทยุ ย่าน VHF/FM ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องปฏิบัติตาม ประกาศกรมไปรษณีย์โทรเลข เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตและการกำกับดูแลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้ความถี่วิทยุ |
1 |
การยื่นคำขออนุญาต |
การยื่นคำขออนุญาต ให้ยื่นคำขออนุญาตใช้ความถี่วิทยุเป็นหนังสือต่อ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ซึ่งลงนามโดย ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกเทศมนตรี นายกเมืองพัทยา ประธานสภาตำบล นายกองค์การบริหารส่วนตำบล หัวหน้าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ให้แนบเอกสารเพื่อประกอบการพิจารณาดังนี้ |
|
๒. แผนผังแสดงที่ตั้งสถานีฐาน (Base Station) l ตัวอย่าง l |
๓. สำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ ของ ผู้ลงนามในคำขออนุญาต |
๔. สำเนาประกาศจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ |
1 |
ขั้นตอนการพิจารณา |
เมื่อได้รับคำขออนุญาตใช้ความถี่แล้ว สำนักงาน กทช. จะดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติและเอกสารประกอบการพิจารณาถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ หากไม่ถูกต้อง สำนักงาน กทช. จะมีหนังสือแจ้งให้ส่งเอกสารให้ครบถ้วนต่อไป เมื่อเอกสารครบถ้วนถูกต้องแล้ว สำนักงาน กทช. จะพิจารณาอนุญาตและกำหนด รายละเอียดทางเทคนิคของเครื่องวิทยุคมนาคมและสถานีวิทยุคมนาคมให้ใช้งานตามความจำเป็นและเหมาะสม โดยยึดหลักเกณฑ์การใช้ความถี่วิทยุร่วมกัน (Sharing) ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เกิดประโยชน์สูงสุดและปราศจากการรบกวนอย่างรุนแรง โดยกำหนดข้อปฏิบัติในการใช้ความถี่วิทยุ เป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือผู้ได้รับอนุญาตจำเป็นที่จำต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถนำทรัพยากรคลื่นความถี่มาใช้ร่วมกันได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด ในข้อปฏิบัติในการใช้ความถี่วิทยุ ของประกาศกรมไปรษณีย์โทรเลข เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตและการกำกับดูแลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้ความถี่วิทยุนั้น มีหลายข้อด้วยกันแต่ใจความสำคัญขอย่อให้ทราบดังนี้ สิทธิในการใช้ความถี่วิทยุเป็นสิทธิเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับการจัดสรรความถี่วิทยุ ไม่อาจให้บุคคลอื่นร่วมใช้ความถี่วิทยุบางส่วนหรือทั้งหมด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก กทช. แล้วเท่านั้น ให้ใช้ความถี่วิทยุตามที่ได้รับการจัดสรรเท่านั้น หากการใช้ความถี่วิทยุที่ได้รับการจัดสรรก่อให้เกิดการรบกวนต่อการใช้ความถี่ของผู้อื่นที่ได้รับการจัดสรรอยู่ก่อนแล้ว ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับการจัดสรรความถี่วิทยุ มีหน้าที่แจ้งให้ กทช. ทราบเพื่อหาสาเหตุการรบกวนที่เกิดขึ้นและให้ความร่วมมือแก้ไขปัญหาการรบกวนที่เกิดขึ้น รวมทั้งรับผิดชอบค่าเสียหายต่างๆ ที่อาจมีขึ้นจากการแก้ไขปัญหาการรบกวนนั้น หากไม่สามารถแก้ไขได้ให้รังับการใช้ความถี่วิทยุหรือเลือกใช้ความถีวิทยุช่องอื่นที่กำหนดเป็นช่องปฏิบัติงานร่วมกันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการรบกวนต่อการใช้ความถี่วิทยุของผู้อื่น ทั้งนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิใช้ความถี่วิทยุโดยเท่าเทียมกันและไม่ถือเป็นสิทธิเฉพาะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดๆ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับการจัดสรรความถี่วิทยุทุกแห่ง ต้องเฝ้าฟัง (Monitoring) ความถี่ 162.525 MHz ที่เป็นช่อิงเรียกขาน เพื่อการติดต่อประสานงานหรือสั่งการจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย รวมทั้งการเรียกขานของสถานีวิทยุคมนาคมที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประสงค์ จะติดต่อประสานงานกับหน่วยงานในสังกัดกรมการปกครอง ให้ใช้ความถี่ 162.125 MHz ของกรมการปกครอง |
1 |
การจัดหาเครื่องวิทยุคมนาคม |
เมื่อได้รับอนุญาตให้ใช้ความถี่จาก สำนักงาน กทช. แล้ว การจัดหาเครื่องวิทยุคมนาคมมาใช้งานนั้น เครื่องวิทยุคมนาคมที่จัดหาจะเป็นเครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการเคลื่อนที่ทางบก (Land Mobile Service) และเป็นแบบสังเคราะห์ความถี่ ประเภท ๒ โดยผู้ใช้ไม่สามารถตั้งความถี่วิทยุได้เองจากภายนอกเครื่องวิทยุคมนาคม (ป้อนหมายเลขความถี่ได้เอง) แต่สามารถตั้งความถี่วิทยุด้วยเครื่องตั้งความถี่วิทยุ (Programmer) หรือโดยวิธีอื่น (ใช้วิธีเลือกช่องตามที่กำหนดไว้แล้ว) และเป็นตราอักษร รุ่น/แบบ ที่ผ่านการทดสอบรับรองตัวอย่างเครื่องวิทยุคมนาคมจากกรมไปรษณีย์โทรเลขแล้วนอกจากดำเนินการตามกระบวนการจัดหา จัดซื้อจัดจ้างแล้ว ยังมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับ กทช. อยู่อีก นั่นคือเครื่องวิทยุคมนาคมนั้น ต้องได้รับอนุญาตถูกต้องตามกฎหมายด้วยเช่นกัน โดยเครื่องวิทยุคมนาคมนั้นต้องมีข้อกำหนดทางวิชาการสอดคล้องกับ ประกาศของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ว่าด้วยมาตรฐานทางเทคนิคของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ เรื่อง เครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการเคลื่อนที่ทางบก ย่านความถี่ VHF/UHF และเครื่องวิทยุคมนาคม ต้องได้รับการติดฉลาก (Label) โดย สำนักงาน กทช. (ความหมายของตัวเลขบนฉลากฯ)
ตัวอย่างฉลากแสดงหมายเลขทะเบียนวิทยุคมนาคม
|
1 |
การดำเนินการหลังจากจัดหาเครื่องวิทยุคมนาคม |
เมื่อจัดหาเครื่องวิทยุคมนาคมมาใช้งานเรียบร้อยแล้ว ให้มีหนังสือแจ้งรายละเอียดของเครื่องวิทยุคมนาคม (แบบ บว. ๙ ) ซึ่งประกอบไปด้วย ตราอักษร รุ่นหรือแบบ หมายเลขเครื่อง (Serial Number) หมายเลขทะเบียนวิทยุคมนาคม (ปท.) ความถี่ กำลังส่ง และรายชื่อผู้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมให้กองการสื่อสารกรมการปกครองทราบโดยเร็ว เพื่อให้กรมการปกครองใช้เป็นข้อมูลวางแผนการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมในภารกิจสั่งราชการ กำกับดูแล รายงานเหตุการณ์และบรรเทาสาธารณภัย เป็นต้น |
|
การก่อสร้างเสาอากาศวิทยุคมนาคม |
ความสูงของสายอากาศวิทยุคมนาคมรวมทั้งลักษณะทางเทคนิคของสถานีวิทยุคมนาคม ต้องเป็นไปตามที่รับอนุญาตจาก สำนักงาน กทช (คราวเดียวกับขออนุญาตใช้ความถี่) |
|
|
|
|